วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557





รายงานผลการวิจัย

เรื่อง

พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”

โดย

นายชัยวัฒน์กิจ ไทยฉาย เลขที่ 1

นายศุภชัย ดิษบรรจง เลขที่ 5

นางสาวกนกวรรณ วงษ์ไพร เลขที่ 8

นางสาวอนุธิดา สนธิภักดี เลขที่ 10

นางสาวเบญจมาภรณ์ ตลับเงิน เลขที่ 12

นางสาวสุภาพร เกิดช้าง เลขที่ 13

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 /2



โรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556






หัวชื่อการค้นคว้า พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียน

บ้านหมอ “พัฒนานุกูล”

คณะผู้วิจัย นายชัยวัฒน์กิจ ไทยฉาย, นายศุภชัย ดิษฐบรรจง, นางสาวกนกวรรณ วงษ์ไพร,นางสาวอนุธิดา สนธิภักดี, นางสาวเบญจมาภรณ์ ตลับเงิน, นางสาวสุภาพร เกิดช้าง 

แผนการเรียน วิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์อัญชลี ปิ่นเกตุ , อาจารย์ภิรญา สายศิริสุข

ปีการศึกษา 2556

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล” มีจุดมุ่งหมาย คือ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียน หาแนวทางการแก้ไขปัญหาการมาโรงเรียนสายของนักเรียน ส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด และเพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการมาสายของนักเรียน และนำข้อมูลที่ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 120 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม เรื่องพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” มาวิเคราะห์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ว่าเกิดขึ้นโดยสาเหตุใด แล้วมีผลเสียต่อตนเองและการเรียนอย่างไร และนำข้อมูลเหล่านี้มาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมการมาโรงเรียนสาย และทำให้ผู้ทำเครื่องมือวิจัยตระหนักถึงผลเสียมากมายของการมาโรงเรียนสาย โดยกำหนดให้สถานที่เก็บรวบรวมข้อมูล คือ โรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” ด้วยการคิดคำนวณเป็นร้อยละแล้วนำมาจัดทำเป็นตาราง และสรุป โดยผลเสียของการมาโรงเรียนสายที่นักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” คือ ทำให้เข้าเรียนไม่ทัน รองลงมา คือ การที่ไม่สามารถรับข่าวสารของทางโรงเรียนในช่วงเช้าได้ และโดนทำโทษ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ทั้งต่อตัวของนักเรียนเองและมีประโยชน์ต่อครูด้วย

บทที่ 1 บทนำ 

1.1 หลักการและเหตุผล

นักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล” ส่วนใหญ่มาโรงเรียนสายมาก และมีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกวัน พฤติกรรมนักเรียนมาสายมีการกระทำบ่อยๆทำให้แสดงเห็นว่าสังคมไม่มีการพัฒนาในด้านศักยภาพบุคคล และด้านการศึกษา ผลสะท้อนว่าโรงเรียนไม่มีมาตรฐานในเรื่องกฎระเบียบ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติที่กำลังจะเข้าสู่อาเซียนเป็นอย่างสูง การมาโรงเรียนสายจึงเป็นปัญหาในการเข้าเรียน ไม่ตรงต่อเวลาและผิดกฎระเบียบของโรงเรียนในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของนักเรียนที่ทำให้มาสาย โดยมากเกิดจากการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในตอนกลางคืน เช่น พูดคุยโทรศัพท์จนดึก เล่นเกมส์ เป็นต้น ผู้ปกครองก็ไม่มีเวลาที่จะรอลูกตื่น เพราะผู้ปกครองต้องรีบไปทำงานแต่เช้า เมื่อไม่มีคนปลุกจึงทำให้นักเรียนตื่นสาย พฤติกรรมเหล่านี้จึงทำให้คณะผู้วิจัยสนใจศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม การเจริญเติบโตขึ้นเป็นบุตรที่ดีของบิดา มารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูและเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ พร้อมทั้งสนับสนุนให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ โดยการอาศัยระเบียบ การควบคุมความประพฤติของนักเรียนในเรื่องของการมาสาย

1.2 วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียน

2.เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล”

3.เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา

4.เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด

5. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการมาสายของนักเรียน

1.3 สมมุติฐานงานวิจัย

1. นักเรียนส่วนมากมาโรงเรียนสายน่าจะมีสาเหตุมาจากครอบครัวและสภาพแวดล้อม

2. นักเรียนต้องมาถึงโรงเรียนก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ นักเรียนที่มาโรงเรียนไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติไม่ทันจะถือว่ามาสาย

3. นักเรียนต้องมีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความรับผิดชอบตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา

4. นักเรียนต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบได้อย่างเคร่งครัดตามที่โรงเรียนกำหนดให้

5. นักเรียน


1.4 ขอบเขตของการวิจัย

คณะผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตไว้ดังนี้
1. ขอบเขตด้านประชากร

นักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล”

กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6) ของโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล” ต.บ้านหมอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ห้องละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน

2. ขอบเขตด้านเนื้อหา

ในการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านมอ“พัฒนานุกูล” ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทางด้านงานวิชาการ งานกิจการนักเรียน

เรื่องที่ศึกษาในครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตของเนื้อหาไว้ ดังนี้

- พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียน

-สาเหตุของการมาโรงเรียนสายของนักเรียน

- การมาโรงเรียนสายมีผลกระทบต่อการเรียนอย่างไร

- สถิติการมาโรงเรียนสายของนักเรียน1.5 งบประมาณ

- งบประมาณที่ใช้จ่ายการทำงานวิจัย มีดังนี้

-ค่าอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล

-ค่าพิมพ์งาน

-ค่าทำรูปเล่มรายงาน

1.5 งบประมาณ

- งบประมาณที่ใช้จ่ายการทำงานวิจัย มีดังนี้

-ค่าอินเตอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูล

-ค่าพิมพ์งาน

-ค่าทำรูปเล่มรายงาน

1.6 ระยะเวลาในการดำเนินงาน 

การศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 (ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2556 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2557)

1.7 นิยามคำศัพท์เฉพาะ

นักเรียน หมายถึง นักเรียนที่ศึกษาในโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล” อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี
ไม่เข้าเรียน หมายถึงการที่นักเรียนไม่ได้เข้าเรียนในรายวิชาใดวิชาหนึ่งหรือทุกๆรายวิชาและอาจจะไปหลบอยู่ในบริเวณโรงเรียนหรือนอกบริเวณโรงเรียนซึ่งกระทำโดยเจตนา
การบริหารงานปกครอง หมายถึง การที่ผู้บริหารโรงเรียนด้านการปกครองดำเนินการหรือปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับงานปกครอง โดยสามารถวัดได้จากความคิดเห็นของครูและนักเรียนในโรงเรียน
งานปกครอง หมายถึง งานที่ดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน
ระเบียบปฏิบัติ หมายถึง ระเบียบของโรงเรียนที่ให้นักเรียนทุกคนปฏิบัติตามระเบียบ
การมาสาย หมายถึง นักเรียนที่มาไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติ ให้ถือว่ามาสาย ให้มารายงานตัวและลงชื่อต่อครูเวรประจำวันนั้นๆ
ผลกระทบ หมายถึง ผลงานที่คาดว่าจะก่อให้เกิดผลดี หรือ ผลเสียในระยะยาวอย่างไร ในการมาโรงเรียนสาย พฤติกรรม หมายถึง การกระทำที่ทำให้นักเรียนมาโรงเรียนสาย

1.8 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ทราบถึงพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล”
2. รู้วิธีการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” เพื่อนำ
มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการมาโรงเรียนสายของนักเรียนในอนาคต
3. นักเรียนจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น
4. นักเรียนจะสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียนได้อย่างเคร่งครัด
5. ทราบถึงปัญหาพฤติกรรมที่ทำให้นักเรียนมาโรงเรียนสาย



บทที่ 2 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

พฤติกรรม หมายถึงการกระทำซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของจิตใจที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ซึ่งอาจสังเกตได้โดยทางตรงหรือทางอ้อม บางลักษณะอาจสังเกตได้โดยไม่ใช้เครื่องมือช่วยเหลือต้องใช้เครื่องมือช่วย พฤติกรรมในมนุษย์ หมายถึงอาการกระทำหรือกิริยาที่แสดงออกมาทางร่างกายกล้ามเนื้อสมองในทางอารมณ์ ความคิดและความรู้สึก พฤติกรรมเป็นผลจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เมื่อมีสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นมาเร้าในเวลาใดจะมีการตอบสนองเมื่อนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สุรางค์โคว้ตระกูล ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์เป็นอย่างมาก เพราะกระบวนการสอนบุคคลจะต้องสอนเพื่อให้เขาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม จึงได้เน้นว่า คนที่เป็นครูจะต้องเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมและได้กล่าวถึงรายละเอียดดังนี้

พื้นฐานความคิด (Basic Assumptions) ในทางวิทยาศาสตร์พฤติกรรมที่ครูควรจะยึดถือเป็นหลักมีดังต่อไปนี้
- พฤติกรรมของบุคคลแต่ละอย่างจะต้องมีสาเหตุ
- พฤติกรรมหนึ่งอาจจะมาจากสาเหตุได้หลายอย่าง ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
- พฤติกรรมอย่างเดียวกัน อาจจะเนื่องมาจากสาเหตุต่างชนิดกัน
    การที่จะเข้าใจพฤติกรรมของนักเรียนครูจะต้องพยายามนำหลักการในการศึกษาพฤติกรรมของนัก            จิตวิทยามาใช้ด้วย

อาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปลี่ยนไปถ้าหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือพฤติกรรมของแต่ละบุคคลจะเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่สะสมถ้าหากครูพยายามนึกอยู่เสมอว่า พฤติกรรมทุกชนิดจะต้องมีสาเหตุ การพยายามศึกษาหาสาเหตุของพฤติกรรมก็เป็นวิธีช่วยนักเรียนที่มีปัญหาได้เช่นเดียวกัน ถ้าครูพยายามจัดสิ่งแวดล้อมและจัดหาประสบการณ์ที่ดีให้นักเรียน ก็จะเป็นการช่วยให้นักรเรียนมีปฏิสัมพันธ์ในตัวแปรที่ดีต่างๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียนได้ สรุปแล้วลำดับขั้นของการศึกษาพฤติกรรมของนักเรียน ประไพศรี โกมุทผล.2551. การเข้าแถวของเด็กอนุบาลก็มีความสำคัญ การเข้าแถวเป็นการสร้างระเบียบวินัยให้กับเด็กรวมถึงเด็กได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่วมกัน แต่มีเด็กนักเรียนบางคนชอบมาสาย บางครั้งคุณครูสอนไปแล้วตั้งเยอะเด็กพึ่งจะมาโรงเรียนซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้บ่อยๆ จะทำให้เด็กเรียนไม่ทันเพื่อนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน งานวิจัยของท่านนี้เป็นการปรับพฤติกรรมเด็ก เพื่อให้เด็กได้มาทันเวลาตามกำหนดของโรงเรียนโดยการสอบถามและพูดคุยและขอความร่วมมือผู้ปกครองให้ผู้ปกครองเอาใจใส่เด็กในเรื่องของการนอนให้เด็กได้นอนแต่หัวค่ำเพื่อเด็กจะได้ไม่ตื่นสาย และให้มาส่งเด็กเข้าโรงเรียนก่อนที่จะเข้าแถวในตอนเช้า จากการวิจัยในระยะเวลา 1 เดือนเด็กที่เคยมาสายได้มาทันเวลาเข้าแถวและได้ร่วมทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน

ที่มา : ประไพศรี โกมุทผล. โรงเรียนบ้านบางเทา

งานการปกครอง เป็นภารกิจส่วนหนึ่งของการศึกษาอบรม เพราะโดยธรรมชาติของสังคมนั้น คนเก่งวิชาการฝ่ายเดียวไม่พอ ต้องเป็นคนดีด้วย จึงจะประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริง ดังนั้น ครอาจารย์ทุกคนจึงมีหน้าที่ทั้งให้ความรู้และอบรมสั่งสอนให้ประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม โดยมีฝ่ายปกครองเป็นผู้รับผิดชอบด้านนโยบายและบริหารงานปกครองไปสู่การชี้นำให้นักเรียนทำความดีและดูแลระแวดระวังป้องกันไว้ ไม่ให้กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ด้วยมาตรการที่เชื่อมโยงกันทั้งระบบ ซึ่งเป็นกระบวนวิธีที่จะนำไปสู่ความสำเร็จตามปรัชญา คติพจน์ คุณลักษณะของนักเรียนที่พึงประสงค์ และวิสัยทัศน์อันเป็นเป้าหมายของโรงเรียน 

ที่มา:http://discipline.satitpatumwan.ac.th


สนอง สุวรรณวงศ์(2529:109) ให้ความหมายว่า การปกครองนักเรียน หมายถึง การปกครอง คุ้มครอง ดูแล รักษา รวมทั้งการให้การฝึกอบรมทางด้านศีลธรรม จรรยา มารยาทอันดีงามให้แก่นักเรียน เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในโรงเรียนและสังคมได้อย่างมีความสุข
เสริมวิทย์ศุภเมธี (2531:227) ได้ให้ความหมาย การปกครองงานด้านกิจการนักเรียนคือ การให้ความคุ้มครองดูแลงานด้านกิจการนักเรียน โดยนักเรียน และเพื่อนักเรียน ซึ่งเป็นการฝึกการปกครองระบอบประชาธิปไตยภาคปฏิบัติ โดยมีครูอาจารย์เป็นที่ปรึกษาให้ความช่วยเหลือเพื่อให้ดำเนินงานด้านปกครองนักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์
ที่มา: http://e-book.ram.edu


ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิตคนมีวินัยเขาจะจัดระเบียบชีวิตของเขาได้เป็นอย่างดี สังคมใดไร้ระเบียบวินัย สังคมนั้นก็จะอ่อนแอคนไม่มีวินัยก็จะมีชีวิตอยู่อย่างสะเปะสะปะ เรื่อยเปื่อยวินัยจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินชีวิต คำว่า “ระเบียบวินัย” นั้นแม้นปรากฏอยู่ในสิ่งต่างๆ ทั้งที่เป็นหนังสือ ตำรา เอกสารอื่นใดกระทั่งคำขวัญวันเด็กที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากแต่ส่วนน้อยหนักที่จะกล่าวรู้ว่า ความหมายของคำว่าระเบียบวินัยที่แท้นั้นว่าอย่างไร การศึกษาถึงความหมายของระเบียบวินัยจึงมีความจำเป็น เพื่อให้สามารถทราบในเบื้องต้นได้ อันจะนำไปสู่การศึกษาในส่วนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวินัยต่อไป พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน(2547:ออนไลน์,อ้างถึงในวีระศักดิ์ ไชยเสน,2548:33) ได้แยกกล่าว ถึงความหมายระหว่างคำว่า ระเบียบกับวินัย ออกจากกัน กล่าวคือ ระเบียบ หมายถึง ถูกลำดับ ถูกที่เป็นแถว เป็นแนว มีลักษณะเรียบร้อย ส่วนคำว่า วินัย หมายถึง ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน ระเบียบวินัย คือ คุณสมบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิต ( พระพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9, 2547 : ออนไลน์,อ้างถึงใน วีระศักดิ์ ไชยเสน, 2548 : 33) ระเบียบวินัย หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมของตนเอง ให้เป็นไปตามที่มุ่งหวัง โดยเกิดจากการสำนึก ซึ่งไม่ต้องกระทำการใดๆ อันเป็นผลทําให้เกิดความยุ่งยากแก่ตนเองในอนาคต หากแต่ต้องเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและผู้อื่นโดยไม่ขัดต่อระเบียบของสังคมและไม่ขัดต่อสิทธิของผู้อื่น (อำพร กาทอง, 2529 : 7) ระเบียบวินัย หมายถึง ความมีวินัยในตนเอง สามารถควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนตามระเบียบแบบแผนขององค์กร โดยต้องมีข้อตกลงที่ชัดเจนและมีความยุติธรรม มีการลงโทษอย่างยุติธรรมเสมอกันซึ่งปรากฏอยู่ในเว็บไซต์http://www.ripb.ac.th/~intanin/eleam/EJUDKAN (2547 : ออนไลน์,อ้างถึงใน ลัดดา บุทรง,2548: 35) ระเบียบวินัยหมายถึง แบบแผน กฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้เป็นแนวปฏิบัติคนที่มีระเบียบวินัยเป็นคนที่สามารถควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตนไดตามแบบแผนกฎเกณฑ์ และข้อบังคับของสังคมนั้นได้โดยอาจจะใช้กฎเกณฑ์ข้อบังคับเป็นเครื่องกําหนดให้ทำตาม ซึ่งเรียกว่าระเบียบวินัยภายนอกหรืออาจจะปฏิบัติเพราะตระหนักถึงความถูกต้องเหมาะสมดีงามด้วยตัวของตัวเองแม้บ้าง อย่างจะไม่ได้มีการกําหนดไว้เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับก็ตาม ซึ่งเรียกว่ามีระเบียบวินัยในตนเอง(สุพัตรา เทียนอุดม, 2536 : 5) 
ระเบียบวินัยหมายถึงการฝึกฝนในลักษณะนิสัยรวมทั้งจิตนิสัย ให้มีทั้งความถูกต้องและสมบูรณ์(Fortosis, 2004 : Online,อ้างถึงใน ลัดดา บุญทรง, 2548 : 35) 
ที่มา: http://kb.psu.ac.th


การมาสาย หมายถึง นักเรียนที่มาไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติ ให้ถือว่ามาสาย ให้มารายงานตัวและลงชื่อต่อครูเวรประจำวันนั้นๆ

1.1 นักเรียนต้องมาถึงโรงเรียนก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ

1.2 นักเรียนที่มาโรงเรียนไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติให้ถือว่ามาสายให้รายงานตัวและลงชื่อต่อครูเวรประจำวันนั้นๆและให้เข้าแถวอยู่ต่างหากเฉพาะนักเรียนมาสาย นักเรียนที่มาสายจะถูกพิจารณาโทษในแต่ละครั้งโดยให้อยู่ในดุลยพินิจของครูเวรประจำวันนั้นๆ และเสนอชื่อให้หัวหน้าช่วงชั้นปกครองดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปสำหรับนักเรียนที่มาสาย (ไม่ทันเข้าแถวเคารพธงชาติ) จะมีผลดังนี้

1. มาสาย 1-5 ครั้ง คุณครูประจำชั้นว่ากล่าวตักเตือน และ/หรือหักคะแนนความประพฤติไม่เกินครั้งละ 5 คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน

2. มาสายเกิน 6–10 ครั้ง หัวหน้าระดับว่ากล่าวตักเตือน และ/หรือหักคะแนนความประพฤติไม่เกินครั้งละ 5คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน

3. มาสายเกิน 10 ครั้ง แผนกปกครอง เชิญผู้ปกครองมาพบ และ/หรือหักคะแนนความประพฤติครั้งละ ไม่เกิน 5 คะแนน และบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน

1.3 นักเรียนที่มาสายหลังเข้าแถวเคารพธงชาติ ต้องลงชื่อมาสายที่ห้องกิจการนักเรียนทุกครั้งโดยนักเรียนที่มาสายจะถูกพิจารณาในแต่ละครั้ง และนักเรียนต้องแสดงใบอนุญาตเข้าชั้นเรียน (กรณีมาสาย) ก่อนเข้าห้องเรียนต่อคุณครูผู้สอนทุกครั้งสำหรับนักเรียนที่มาสาย (หลังเข้าแถวเคารพธงชาติ) จะมีผลดังนี้

1. มาสาย 1-5 ครั้ง คุณครูประจำชั้นว่ากล่าวตักเตือน และ/หรือหักคะแนนความประพฤติครั้งละไม่เกิน 5 คะแนน พร้อมทั้งบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน

2. มาสายเกิน 5 ครั้ง หัวหน้าช่วงชั้นปกครอง เชิญผู้ปกครองมาพบ และ/หรือหักคะแนนความประพฤติ 3 ครั้งละไม่เกิน 5 คะแนน พร้อมทั้งบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติเป็นหลักฐาน

1.4 นักเรียนที่มีความจำเป็นต้องมาสาย เช่น ช่วยงานผู้ปกครอง หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่เห็นสมควรให้ผู้ปกครองขออนุญาตจากแผนกปกครองเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน และนักเรียนต้องแสดงใบอนุญาตเข้า ชั้นเรียน (กรณีมาสาย) จากแผนกปกครองต่อคุณครูเวรประจำวันที่ห้องกิจการนักเรียนทุกครั้งที่มาสาย
ที่มา (โรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”, คู่มือนักเรียน, 2556,34-40)

ผลกระทบ หมายถึง ผลงานที่คาดว่าจะก่อให้เกิดผลดี หรือ ผลเสียในระยะยาวอย่างไร ในการมาโรงเรียนสาย ต่อตนเอง- ทำให้เสียการเรียน มาช้าเรียนไม่ทัน ถ้าคุณครูย้อนมาสอนอีกทำให้เสียเวลาเรียนของเพื่อนๆถ้ามาสายบ่อยๆจะเป็นคนไม่ตรงต่อเวลาและอาจโดนครูดุเอาด้วยนะคะต่อห้องเรียน-การเข้ามาระหว่างครูสอน อาจรบกวนเพื่อนที่เรียนอยู่
ที่มา : http://guru.google.co.th
เท่ากับว่าขาดความรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมแต่เป็นตั้งแต่เด็ก โตขึ้น ก็จะมาทำงานสาย หรือนัดใครแล้วมาสายไม่มาตามเวลาที่นัดแบบนี้เจอบ่อยครับ
ที่มา : http://guru.google.co.th



บทที่ 3 

วิธีดำเนินการ 

3.1 กลุ่มประชากร

นักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ”พัฒนานุกูล”
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” ต.บ้านหมอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ห้องละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน
3.2     เครื่องมือที่ใช้ 
3.2.1  แบบสอบถาม
แบบสำรวจ พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”
แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนสามารถศึกษาจากส่วนต่างๆ ดังนี้
ระดับชั้นที่ศึกษา
ส่วนที่ 2 พฤติกรรมที่มาโรงเรียนสายเพราะอะไร(คำถามปลายปิด)
ถ้ามาไม่ทันเวลา 08.00 น. สาเหตุที่ไม่ทัน คือ ตื่นสาย มีภาระงานที่บ้าน ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล รอเขาพร้อมเพื่อน อยู่ร้านเกม
ตารางสรุปผลสำรวจพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”




3.3 เกณฑ์การประเมินแบบสอบถาม

มากกว่า 0.7 หมายถึง มาสายมาก

ระหว่าง 0.4-0.5 หมายถึง มาทันเวลา

น้อยกว่า 0.5 หมายถึง มาสาย

3.4 สรุปผลสำรวจสาเหตุของการมาโรงเรียนสาย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มาไม่ทันเวลา 08.00 น. มี 10 คน

สาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลา

1. ตื่นสาย

2. มีภาระงานที่บ้าน

3. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มาไม่ทันเวลา 08.00 น. มี 14 คน

สาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลา

1. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล

2. ตื่นสาย

3. รอเข้าพร้อมเพื่อน

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มาไม่ทันเวลา 08.00 น. มี 14 คน

สาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลา

1. มีภาระงานที่บ้าน

2. ตื่นสาย

3. รอเข้าพร้อมเพื่อน

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มาไม่ทันเวลา 08.00 น. มี 8 คน

สาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลา

1. ตื่นสาย

2. อยู่ร้านเกม

3. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล



นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มาไม่ทันเวลา 08.00 น. มี 8 คน

สาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลา

1. รอเข้าพร้อมเพื่อน

2. ตื่นสาย

3. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มาไม่ทันเวลา 08.00 น. มี 12 คน

สาเหตุสำคัญที่มาไม่ทันเวลา

1. รอเข้าพร้อมเพื่อน

2. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล

3. ตื่นสาย

3.5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

สูตรที่ใช้คำนวณ

หาค่าเฉลี่ยใช้สูตร ดังนี้ (http://learning.eduzones.com/)

                 


X คือค่าของข้อมูลแต่ละตัวหรือจุดกึ่งกลางชั้นแต่ละตัว

X คือค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง

N คือจำนวนข้อมูลทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง

1.2.2 สัมภาษณ์

1.2.3 คอมพิวเตอร์

1.2.4 เครื่องพิมพ์

3.2.5 กระดาษ A4



3.6 ขั้นตอนดำเนินงาน

1.วางโครงงาน

-วางกลุ่มเป้าหมาย

-สำรวจกลุ่มเป้าหมาย

2.เขียนรายงาน

- พิมพ์งานตามโคร่งร่างที่วางไว้

3.ขั้นตอนการดำเนินงาน

- พิมพ์รายงาน

-สอบถามกลุ่มเป๋าหมาย

-นำผลมาเรียบเรียง

4.เผยแพร่ผลงาน

- สร้างเพจในเฟสบุ๊ค เพื่อเผยแพร่ข้อมูล




บทที่ 4 

ผลดำเนินการวิจัย 


ผลการดำเนินการศึกษาค้นคว้าเรื่อง พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” มีดังนี้

4.1 วิเคราะห์ข้อมูล

พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนทั้งหมด
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6




จากการสำรวจรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนทั้งหมด สาเหตุที่นักเรียนมาโรงเรียนสายอันดับ 1 คือ ตื่นสายมีจำนวน 10.21% อันดับ 2 คือ ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกลมีจำนวน 7.32% อันดับ 3 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อนมีจำนวน 6.35% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนทั้งหมด จำนวน 519 คน

พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนจากกลุ่มตัวอย่าง

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สาเหตุที่นักเรียนมาโรงเรียนสายอันดับ 1 คือ ตื่นสายมีจำนวน 15% อันดับ 2 คือ มีภาระงานที่บ้านมีจำนวน 10% อันดับ 3 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อนมีจำนวน 5% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 20 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3



ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาเหตุที่นักเรียนมาโรงเรียนสายอันดับ 1 คือ มีภาระงานที่บ้านมีจำนวน 20% ลำดับ 2 คือ ตื่นสายมีจำนวน 15% ลำดับ 3 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อนมีจำนวน10% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4



ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สาเหตุที่นักเรียนมาโรงเรียนสายอันดับ 1 คือ ตื่นสายมีจำนวน 20% ลำดับ 2 คือ อยู่ร้านเกมมีจำนวน 10% ลำดับ 3 คือ ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกลมีจำนวน 5% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 20 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สาเหตุที่นักเรียนมาโรงเรียนสายอันดับ 1 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อนมีจำนวน 15% ลำดับ 2 คือ ตื่นสายมีจำนวน 10% ลำดับ 3 คือ ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกลมีจำนวน 5% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 คน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6




ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สาเหตุที่นักเรียนมาโรงเรียนสายอันดับ 1 คือ รอเข้าพร้อมเพื่อนมีจำนวน 25% ลำดับ 2 คือ ตื่นสายมีจำนวน 20% ลำดับ 3 คือ ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกลมีจำนวน 15% จากการสำรวจพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 20 คน

4.2 สูตรที่ใช้ในการหาค่าร้อยละของสาเหตุที่ไม่ทันเวลา

                หาค่าเฉลี่ยโดยใช้สูตร ดังนี้ (http://thai-teacher.freevar.com/section4.html)

ร้อยละ     =     จำนวนที่ได้   x 100
                                                 จำนวนทั้งหมด






บทที่ 5 

สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ
           

การวิจัย เรื่องพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “ พัฒนานุกูล” มีสาระสำคัญ ผลสรุปและอภิปรายผล รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้

5.1 วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียน

2.เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกูล”

3.เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์ สุจริต และมีความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเองให้เป็นคนตรงต่อเวลา

4.เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนอย่างเคร่งครัด

5. เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาการมาสายของนักเรียน

5.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

นักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ”พัฒนานุกูล”

กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” ต.บ้านหมอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี ห้องละ 20 คน รวมทั้งสิ้น 120 คน


5.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แบบสอบถาม

แบบสำรวจ พฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียนสามารถศึกษาจากส่วนต่างๆ ดังนี้

ระดับชั้นที่ศึกษา

ส่วนที่ 2 พฤติกรรมที่มาโรงเรียนสายเพราะอะไร (คำถามปลายปิด)

ถ้ามาไม่ทันเวลา 08.00 น. สาเหตุที่ไม่ทัน คือ ตื่นสาย มีภาระงานที่บ้าน ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล รอเขาพร้อมเพื่อน

5.4 การดำเนินงานวิจัย
จากการสำรวจพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล”โดยสำรวจจากแบบสอบถาม โดยสาเหตุพฤติกรรมตัวอย่างในการมาสายทั้งหมด 5 ตัวอย่าง เป็นแบบสอบถามโดยขีดเครื่องหมายถูก ลงในช่อง มาทันเวลา (08:00 น.)และไม่มาทันเวลา(08:00 น.) ถ้าขีดเครื่องหมายถูกที่ไม่ทันเวลา(08:00 น.) ให้ตอบที่สาเหตุที่ไม่ทันเวลา(08:00 น.) โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

มาทันเวลา (08:00 น.) 0 คะแนน

มาไม่ทันเวลา (08:00 น.) 1 คะแนน

5.5 วิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลในรายงานครั้งนี้ ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่

1. การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต คำนวณจากสูตร (http://learning.eduzones.com/)

2. การหาค่าร้อยละ คำนวณจากสูตร (http://thai-teacher.freevar.com/section4.html)

5.6 สรุปผลการวิจัย

จากการสำรวจความคิดเห็นพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ

“พัฒนานุกูล”โดยการสำรวจจากแบบสอบถามพบว่า สาเหตุของการมาโรงเรียนสายส่วนใหญ่ คือ ตื่นสาย โดยมีสาเหตุมาจาก เหตุผลส่วนตัว รองลงมา คือระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล และสาเหตุสำคัญสุดท้าย คือ รอเข้าพร้อมเพื่อน ทำให้เพิ่มสถิติการมาสายเพิ่มขึ้นทุกวัน และขาดระเบียบวินัยในตนเองและสังคม การมาสายถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าร่วมสังคมที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น ควรจะตรงเวลา

ดังนั้นข้อมูลเหล่านี้จึงเป็นประโยชน์ต่อครู และนักเรียนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมาสายให้ลดน้อยลง และสถิติการมาสายก็จะลดไป มีประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในเรื่องระเบียบวินัย ให้คำตักเตือนและลงโทษนักเรียนที่มีพฤติกรรมมาสายบ่อยครั้ง



5.7 อภิปรายผลการวิจัย

จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” สามารถสรุปประเด็นสาเหตุสำคัญของการมาโรงเรียนสายและนำมาอภิปรายผลได้ดังนี้

1. ระดับของการมาโรงเรียนสาย

จากการสำรวจแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียน สาเหตุหลักของการมาโรงเรียนสายมี 3 อันดับ คือ

1. ตื่นสาย หมายถึง เกิดจากการนอนดึก โดยเกิดจากปัจจัยส่วนตัว เช่น การคุย

โทรศัพท์ การดูโทรทัศน์ การคุยแชทกับเพื่อน อื่นๆ และปัจจัยทางครอบครัว เช่น การช่วยครอบครัวทำงาน การหมกมุ่นในการเล่นเกม อื่นๆ

2. ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล หมายถึง ระยะทางการเดินทางไกลจาก

บ้านมาโรงเรียน จึงใช้เวลานานในการเดินทาง

3. รอเข้าโรงเรียนพร้อมเพื่อน หมายถึง มาถึงโรงเรียนแต่ยังไม่เข้าโรงเรียน โดย

การรอเพื่อนเข้าโรงเรียนพร้อมกัน รอเพื่อนมารับแล้วเข้าโรงเรียนพร้อมกัน หรือการนั่งคุยกันกับเพื่อนเพื่อรอเวลา

ซึ่งการสำรวจแบบสอบถามความคิดเห็นการมาโรงเรียนสายเกี่ยวกับสาเหตุของการมาโรงเรียนสายของนักเรียนโรงเรียนบ้านหมอ “พัฒนานุกูล” พบว่า อันดับ 1 คือ ตื่นสาย (10.21%) อันดับ 2 คือ ระยะทางจากบ้านมาโรงเรียนไกล (7.32%) และอันดับ 3 คือ รอเข้าโรงเรียนพร้อมเพื่อน (6.35%)

2. สาเหตุและผลกระทบของการมาโรงเรียนสาย

สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. ตนเอง

1.1 มีปัญหาทางด้านการเรียน

1.2 เด็กขาดความเป็นระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา

1.3 ไม่ได้รับข่าวสารจากทางโรงเรียน

1.4 ถูกอาจารย์ตำหนิ

2. ครอบครัว

2.1 เมื่อเด็กมาโรงเรียนสายบ่อยๆครั้ง ผู้ปกครองก็จะถูกเรียกมาโรงเรียน

2.2 ผู้ปกครองมีความกังวลในการมาโรงเรียนของนักเรียน

3. สังคม/สิ่งแวดล้อม

3.1 การเรียนไม่ค่อยมีการพัฒนา

3.2 ขาดมาตรฐานเรื่องความมีระเบียบวินัย

5.8 ข้อเสนอแนะ

1. โรงเรียนต้องกำหนดกฎระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด

2. ควรมีการลงโทษนักเรียนที่มาสายอย่างเข้มงวด

3. มีการหักคะแนนความประพฤติ

4. ควรจะตรวจสอบสถิติของนักเรียนที่มาสายเป็นประจำเพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาการมาโรงเรียนสาย

5. จัดกิจกรรมการเข้าค่ายเกี่ยวกับเรื่องระเบียบวินัย 6. ผู้ปกครอง ต้องดูแลใส่ใจในการรับ-ส่งนักเรียน อยู่ร้านเกม



บรรณานุกรม 

ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. www.fve.ac.th/car/2555/term1/036.pdf.2555, มกราคม 12.

ตัวอย่างงานวิจัย. [Online]. swis.act.ac.th/html_edu/act/temp_emp_research/507.pdf. 2555, มกราคม 12.

ประไพศรี โกมุทผล.(2551: อ้างอิงมาจากเข้าแถวของนักเรียน): โรงเรียนบ้านบางเทา

ภีชนะกา,2553( อ้างอิงมาจากผลกระทบ).[ออนไลน์].แหล่งที่มา:http://guru.google.co.th

สุพัตรา เทียนอุดม, 2536 : 5 (อ้างอิงมาจากระเบียบวินัย).[ออนไลน์]แหล่งที่มา: http://kb.psu.ac.th

เสริมวิทย์ ศุภเมธี (2531:227 อ้างอิงมาจากงานปกครอง).[ออนไลน์]แหล่งที่มา: http://e-book.ram.edu

สนอง สุวรรณวงศ์(2529:109 อ้างอิงมาจากงานปกครอง).[ออนไลน์]แหล่งที่มา:http://discipline.satitpatumwan.ac.th

ลัดดา บุญทรง, 2548 : 35 (Fortosis, 2004 : Online,อ้างมาจากระเบียบวินัย).แหล่งที่มา: http://www.ripb.ac.th

วีระศักดิ์ ไชยเสน,2548:33 (2547:ออนไลน์,อ้างมาจากระเบียบวินัย)

ประวัติผู้จัดทำ

                                                 
นายชัยวัฒน์กิจ ไทยฉาย เลขที่ 1 
นายศุภชัย ดิษฐบรรจง เลขที่ 5 
นางสาวกนกวรรณ วงษ์ไพร เลขที่ 8 
นางสาวอนุธิดา สนธิภักดี เลขที่ 10
นางสาวเบญจมาภรณ์ ตลับเงิน เลขที่ 12 
นางสาวสุภาพร เกิดช้าง เลขที่ 13
                                                                                   
แผนการเรียน วิทยาศาสตร-คณิตศาสตร์ 

ระดับการศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2